บริการกำจัดปลวก กำจัดมด กำจัดแมลง Bangkok Pest Solution

บทความ

เรื่องยุง (Mosquitoes)

ยุง (Mosquitoes)

 

ในโลกนี้มียุงมากกว่า 4,000 ชนิด ยุงบางชนิดเป็นพาหะนำโรคมาสู่คนและสัตว์ เช่น ยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) ยุงลายสวน (Aedes albopictus) นำโรคไข้เลือดออก (Dengue haemorrhagic fever) ยุง Culex triaenuiorhynchus นำโรคไข้สมองอักเสบ (Japanese encephalitis) ยุงก้นปล่องนำโรคมาลาเรีย (Malaria) และยุงเสือนำโรคฟิลาเรีย (Filariasis) หรือโรคเท้าช้าง โรคที่กล่าวมานี้เกิดในคน ส่วนในสัตว์นั้นยุงก็มีความสำคัญมากเช่นกัน เนื่องจากเป็นตัวต่างๆหลายชนิดในสัตว์ เช่น ยุงรำคาญ (Culex quinquefasciatus) นำโรคพยาธิหัวใจสุนัขและโรคมาลาเรียในนก ยุงบางชนิดชอบกัดวัวทำให้น้ำหนักวัวลดและผลิตนมได้น้อยลง ยุงนอกจากจะเป็นอันตรายต่อคนและสัตว์เลือดอุ่นแล้วยังเป็นอันตรายต่อสัตว์เลือดเย็นอีกด้วย

 

โรคที่เกิดจากยุง ที่พบในประเทศไทย

พาหะ โรค
ยุงก้นปล่อง (Anopheles)   มาลาเรีย, โรคเท้าช้าง
ยุงรำคาญ (Culex)   ไข้สมองอักเสบ, โรคเท้าช้าง
ยุงลาย (Aedes)   เดงกี, ไข้เลือดออก, โรคเท้าช้าง
ยุงเสือ (Mansonia)   โรคเท้าช้าง

 

วงจรชีวิตของยุง (Mosquitoes life cycle)

 

การเจริญเติบโตที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างในแต่ละระยะแตกต่างกันมาก แบ่งเป็น 4 ระยะ คือ ระยะไข่ (egg) ระยะลูกน้ำ (larva) ระยะตัวโม่ง (pupa) และระยะตัวเต็มวัย (adult) ระหว่างการเจริญเติบโตในแต่ละระยะต้องมีการลอกคราบ (Molting) ซึ่งถูกควบคุมโดยฮอร์โมนที่สำคัญ 3 ชนิด คือ brain hormone, ecdysone และ juvenile hormone                                                                       

ระยะไข่

ไข่ยุงแต่ละชนิดมีขนาดและลักษณะไม่เหมือนกัน จากลักษณะการวางไข่อาจบอกชนิดของกลุ่มยุงได้ ยุงชอบวางไข่บนผิวน้ำหรือบริเวณชื้น เช่น บริเวณขอบภาชนะเหนือระดับน้ำ การวางไข่ของยุงแบ่งออกเป็น 4 ประเภท

- วางไข่ใบเดี่ยวๆ บนผิวน้ำ เช่น ยุงก้นปล่อง

- วางไข่แบบแพ (raft) บนผิวน้ำ เช่น ยุงรำคาญ

- วางไข่เดี่ยวๆ ตามขอบเหนือระดับน้ำ เช่น ยุงลาย

- วางไข่ติดกับใบพืชน้ำเป็นกลุ่ม เช่น ยุงเสือหรือยุงฟิลาเรีย

ระยะไข่ใช้เวลา 2 – 3 วัน จึงฟักตัวออกเป็นลูกน้ำ ในยุงบางชนิดไข่สามารถอยู่ในสภาพแห้งได้หลายเดือนจนกระทั่งเป็นปี เมื่อมีน้ำก็จะฟักออกเป็นลูกน้ำ แหล่งวางไข่ของยุงแต่ละชนิดแตกต่างกัน เช่น ยุงลายชอบวางไข่ในภาชนะขังน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น ส่วนยุงรำคาญชอบวางไข่ในแหล่งน้ำสกปรกต่างๆ น้ำเสียจากท่อระบายน้ำ แต่หากไม่พบสภาพน้ำที่ชอบ ยุงก็อาจวางไข่ในสภาพน้ำที่ผิดไป นักวิทยาศาสตร์หลายคนรายงานว่าปัจจัยที่ช่วยให้ยุงตัวเมียรู้ว่าควรจะวางไข่ที่ใดก็คือสารเคมีบางอย่างในน้ำ สารเคมีอาจเป็น diglycerides ซึ่งผลิตโดยลูกน้ำยุงลายที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำนั้น หรือเป็นกรดไขมัน (fatty acid) จากแบคทีเรีย  หรือเป็นสารพวก phenolic compounds จากพืชน้ำ

 

ระยะลูกน้ำ

ลูกน้ำยุงแต่ละชนิดอาศัยอยู่ในน้ำต่างชนิดกัน เช่น ภาชนะขังน้ำต่างๆ ตามบ่อน้ำ หนอง ลำธาร โพรงไม้หรือกาบใบไม้ที่อุ้มน้ำ เป็นต้น ลูกน้ำยุงส่วนใหญ่ลอยตัวขึ้นมาหายใจบนผิวน้ำ โดยมีท่อสำหรับหายใจเรียกว่า siphon ยกเว้นยุงก้นปล่องไม่มีท่อหายใจ แต่จะวางตัวขนานกับผิวน้ำโดยมีขนลักษณะคล้ายใบพัด (palmate hair) ช่วยให้ลอยตัวและหายใจทางรูหายใจ (spiracle) ซึ่งอยู่ด้านข้างของอกและลำตัว ส่วนยุงเสือจะใช้ท่อหายใจซึ่งสั้นและปลายแหลมเจาะพวกพืชน้ำและหายใจเอาออกซิเจนผ่านรากของพืชน้ำ อาหารของลูกน้ำยุง ได้แก่ สิ่งมีชีวิตเล็กๆ ในน้ำ เช่น แบคทีเรีย ยีสต์ สาหร่าย ลูกน้ำจะลอกคราบ 4 ครั้ง เมื่อลอกคราบครั้งสุดท้ายกลายเป็นตัวโม่ง การเจริญเติบโตในระยะลูกน้ำใช้ระยะเวลาประมาณ 7 – 10 วัน ขึ้นอยู่กับชนิดของลูกน้ำ อาหาร อุณหภูมิ และ ความหนาแน่นของลูกน้ำด้วย

 

ระยะตัวโม่ง

ตัวโม่งรูปร่างผิดจากลูกน้ำ ส่วนหัวเชื่อมต่อกับส่วนอก รูปร่างลักษณะคล้ายเครื่องหมายจุลภาค (,) ระยะนี้ไม่กินอาหาร เคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว มีท่อหายใจคู่หนึ่งที่ส่วนหัวเรียก trumpets ระยะนี้ใช้เวลาในการเจริญเติบโตเพียง 1 – 3 วัน

 

ระยะตัวเต็มวัย

ตัวยุงแบ่งออกเป็น 3 ส่วน

   ส่วนหัว (Head) มีลักษณะกลมเชื่อมติดกับส่วนอก ประกอบด้วยตา 1 คู่ ตาของยุงเป็นแบบตาประกอบ (compound eyes) มีหนวด (antenna) 1 คู่ มีระยางค์ปาก (labial palpi) 1 คู่และมีอวัยวะเจาะดูด (proboscis) 1อัน มีลักษณะเป็นแท่งเรียวยาวคล้ายเข็มสำหรับแทงดูดอาหาร

   หนวดของยุง แบ่งออกเป็น 15 ปล้อง สามารถใช้จำแนกเพศของยุงได้ แต่ละปล้องจะมีขนรอบๆ ในยุงตัวเมียขนนี้จะสั้นและไม่หนาแน่น (sparse) เรียกว่า pliose antenna ส่วนตัวผู้ขนจะยาวและเป็นพุ่ม (bushy) เรียกว่า plumose antenna หนวดยุงเป็นอวัยวะที่ใช้ในการรับคลื่นเสียง ตัวผู้จะใช้รับเสียงการกระพือปีกของตัวเมีย ความชื้นของอากาศและรับกลิ่น

   ส่วนท้อง (abdomen) มีลักษณะกลม ยาว ประกอบด้วย 10 ปล้อง แต่จะเห็นชัดพียง 8 ปล้อง ปล้องที่ 9 – 10 จะดัดแปลงเป็นอวัยวะสืบพันธุ์ในยุงตัวผู้จะใช้ส่วนนี้แยกชนิดของยุงได้

 

วิธีการป้องกัน และควบคุมปัญหายุง

1. สำรวจ ในบ้านและบริเวณรอบๆบ้านที่อาจเป็นแหล่งน้ำขัง เช่น ป่าหญ้า กองขยะ เศษภาชนะ อ่าง ขวด  ขัน  แก้ว ถ้วย โถ ที่ไม่ใช้แล้วและทิ้งเกะกะ กองยางรถยนต์เก่าๆ

2. ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงตามข้อ 1 เช่นรื้อเก็บไปทิ้ง ไปขาย พัฒนาพื้นที่ไม่ให้เป็นแหล่งน้ำท่วมขัง

3. สำรวจและพัฒนาการสุขาภิบาลที่อยู่อาศัยภายในบ้านและปรับปรุงแก้ไข เช่น

   - มุ้งลวดไม่มีรู หรือช่องโหว่ ประตูเปิดและปิดให้เป็นนิสัย ไม่เปิดทิ้งไว้
 
   - การระบายอากาศต้องให้มีการถ่ายเทอากาศได้สะดวก

   - แสงสว่างเพียงพอโดยอาจใช้กระเบื้องหลังคาแบบใส

   - ภายในบ้านไม่ควรมีมุมมืด หรืออับชื้น เพราะสภาพดังกล่าวเป็นสิ่งที่ยุงชอบอยู่อาศัย

   - การกักเก็บน้ำดื่มน้ำใช้ต้องมีฝาปิด หรือมุ้งครอบ

   - พื้นห้องน้ำ ลานบ้าน ดาดฟ้า และบริเวณที่อาจมีน้ำเข้าถึง มีความลาดเอียง เรียบ ไม่เป็น      แอ่งให้มีน้ำขัง

4.หากจำเป็นต้องมีภาชนะ หรือแหล่งขังน้ำภายในบ้านและบริเวณรอบบ้าน เช่น บ่อน้ำ อ่างบัว จานรองขาตู้กับข้าว แจกันดอกไม้ จะต้องหาทาง

   - ปกปิดภาชนะเหล่านั้น ถ้าทำได้ หรือ

   - เปลี่ยนน้ำบ่อยๆ

   - ปล่อยปลาหางนกยูง หรือปลาอื่นที่กินลูกน้ำเป็นอาหาร